องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านวัง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา 
วังยายทอง
“ โครงสร้างพื้นฐานดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่มีสิ่งแวดล้อมเป็นมลพิษ เศรษฐกิจพอเพียง หล่อเลี้ยงด้วยการบริหารจัดการที่ดี และการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ”

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

วิสัยทัศน์   พันธกิจ   และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา

วิสัยทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านวัง   ได้กำหนดวิสัยทัศน์เพื่อเป็นสภาพการณ์ในอุดมคติซึ่งเป็นจุดหมายและปรารถนา     คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นหรือบรรลุผลในอนาคตข้างหน้า   จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคตดังนี้

“ โครงสร้างพื้นฐานดี     มีคุณภาพชีวิตที่ดี     ไม่มีสิ่งแวดล้อมเป็นมลพิษ   เศรษฐกิจพอเพียง    หล่อเลี้ยงด้วยการบริหารจัดการที่ดี     และการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน  ”

พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น

๑.   การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น
๒.   พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบล  โดยยกระดับการศึกษา  ความมีคุณภาพทางสาธารณสุข  สังคม  และวัฒนธรรมให้ดีขึ้น
๓.   การกำจัดขยะมูลฝอย  สิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างยั่งยืน
๔.   ส่งเสริมศักยภาพของหมู่บ้านให้สามารถพึ่งตนเองได้  
๕.   การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่มีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา

๑.   การได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและรวดเร็ว
๒.   ส่งเสริมคุณภาพทางการศึกษา  สาธารณสุข  การสังคมสงเคราะห์   ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๓.   มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นมลพิษให้บ้านเรือนและชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข
๔.   ประชาชนมีศักยภาพ มีความรู้มีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้
๕.   การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วม

 

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Goals)  ตัวชี้วัด (KPIS)  ข้อมูลพื้นฐาน (Baseline  Data)  เป้าหมาย (Targets)

ปี ๕๗-๖๑ ปี ๕๗ ปี  ๕๘ ปี  ๕๙ ปี  ๖๐ ปี  ๖๑
 ๑.การได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและรวดเร็ว ๑.ร้อยละของครัวเรือนที่มีการคมนาคมสะดวกและรวดเร็ว   ๑.ครัวเรือนที่มีการคมนาคมสะดวกและรวดเร็ว  มีจำนวน ร้อยละ  ๖๐  ของครัวเรือนทั้งหมด  ๑๐๐% ๘๐%   ๙๐%  ๙๕%  ๙๘%  ๑๐๐%
 ๒.ส่งเสริมคุณภาพทางการศึกษา   สาธารณสุข    และการสังคมสงเคราะห์ ๑.ร้อยละของประชาชนที่ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
๒.ร้อยละของประชาชนที่ได้รับบริหารด้านสังคมสงเคราะห์
๑.ประชาชนที่ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น  มีจำนวน ร้อยละ ๙๐
๒.ประชาชนที่ได้รับบริหารด้านสังคมสงเคราะห์   มีจำนวน ร้อยละ  ๖๐ 

๑๐๐%

๑๐๐% 

 ๙๕%

๗๐%
๙๖%

๘๐% 
 ๙๗%

๙๐%
 ๙๘%

๙๕%

๑๐๐%

๑๐๐% 

๓.มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นมลพิษให้บ้านเรือนและชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข ๑.จำนวนครัวเรือนที่มีการกำจัดขยะอย่างถูกสุขอนามัย ๑.ครัวเรือนที่มีการกำจัดขยะจำนวน ร้อยละ   ๓๐  ของครัวเรือนทั้งหมด   ๑๐๐%  ๖๐% ๗๐%   ๘๐%  ๙๐%  ๑๐๐%
๔.ประชาชนมีศักยภาพ มีความรู้มีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้ ๑.ร้อยละของครัวเรือนที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย  ๑.ครัวเรือนที่มีรายได้มากกว่ารายจ่ายมี ร้อยละ ๕๐  ของประชากรทั้งหมด  ๑๐๐%  ๖๐%  ๗๐%  ๘๐% ๙๐%   ๑๐๐%
 ๕.การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วม ๑.ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ  ๑.ประชาชนที่มาใช้บริการ  อบต. มีความสะดวกรวดเร็วและพึงพอใจ  ร้อยละ  ๘๐    ๑๐๐%  ๘๐%  ๘๕%  ๙๐%  ๙๕%  ๑๐๐%